A. ที่มาที่ไปคืออะไร?
เพราะอะไรถึงมีผลอย่างนั้นเกิดขึ้น
(Why What)

1. พันธุกรรม
ในร่างกายของผู้ใหญ่ที่สืบทอดเชื้อสายความฉลาด ความแข็งแรงทนทานต่าง ๆ มาจากบรรพบุรุษนั้น เปรียบได้กับการได้รับของขวัญอันประเสริฐจาก บุพการีซึ่งจะส่งผลให้มีรูปร่างหน้าตาที่ดีสมส่วน ไม่เกิดปัญหาทางร่างกายต่าง ๆ อาทิ การมีน้ำหนัก เกินกว่าความเหมาะสม ไม่ว่ามากหรือน้อยจนเกินไป การกระจายตัวของไขมันตามร่างกายที่ไม่เหมาะสม และยังส่งผลกระทบบางอย่างที่คนทั่วไปมักจะไม่ สังเกตก็คือ พันธุกรรมที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ มักจะทำให้เด็ก ๆ มีรสนิยมหรือความชอบทางด้าน อาหารการกินที่คล้ายกับบิดามารดารวมไปถึงการ มีความรู้สึกอยากอาหารที่เหมาะสมเป็นต้น

3. ระบบลำไส้
ในระบบลำไส้ของคนเรานั้นยังมีลูกบ้านที่อาศัยระบบดัง กล่าวเป็นที่พักอาศัยอยู่อย่างแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งแบคทีเรียที่มีลักษณะพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อร่างกายและแบคทีเรียที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายโดยจะมีสัดส่วนแบคทีเรียที่ดีร้อยละ 80 และแบคทีเรียที่ไม่ดีร้อยละ 20 ซึ่งเป็นปริมาณที่ทำให้เกิดความสมดุลกันของแบคทีเรียประเภทต่างๆในลำไส้ ซึ่งหากร่างกายสามารถรักษาสมดุลดังกล่าวนี้ไว้ได้ก็ย่อมจะทำให้สามารถย่อยสลายและกระบวนการหมัก (Fermentation) ของอาหารและลำไส้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม และนำไปสู่การผลิตกรดไขมันชนิดสั้น (Short Chain Fatty Acids-SCFA) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบที่เหมาะสมตามมา อีกทั้งระบบการทำงานนี้จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันภายในลำไส้ที่เรียกว่า GALT (Gut-Associated Lymphatic Tissue) อีกด้วย

4.การเผาผลาญพลังงาน
ในร่างกายของวัยเด็กมักจะมี Basal Metabolic Rate (BMR) หรืออัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในขณะพักผ่อนที่สูงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากในร่างกายของพวกเขานั้นมีความต้องการที่จะเผาผลาญพลังงานเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตทางร่างกายและสร้างเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาทำให้ร่างกายของเด็กๆ มักจะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งในเด็กปกติทั่วไปก็จะทำให้มีรูปร่างที่ดีสมส่วนกว่าในวัยผู้ใหญ่ แม้พวกเขาจะรับประทานอาหารไปเป็นจำนวนมากก็ตามแต่ก็มีกระบวนการเผาผลาญสารอาหารนั้นอย่างดีเยี่ยมเป็นพื้นฐานทำให้เด็กๆ ส่วนใหญ่มักจะมีร่างกายที่ดีนั้นเอง

5. กระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน
กระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน (Adipogenesis) ในร่างกายของ คนเรานั้นมีเซลล์ไขมัน (Adipocyte) ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำตนเป็นแบตเตอรี่ สำรองกักเก็บพลังงาน ส่วนเกินไว้ในรูปแบบไขมันภายในเซลล์ นอกจากนี้เพราะเขายัง มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน หลายชนิดที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น Leptin เป็นต้น อีกทั้งยังเคยมีการศึกษาที่พบว่าหากมี การเพิ่มขนาดของเซลล์ไขมัน (Hypertrophy) และการเพิ่ม จำนวนของเซลล์ไขมัน (Hyperplasia or Adipogenesis) จะ ทำให้มีการสะสมของไขมันและการกระจายตัวของไขมันภายในร่างกายของเด็ก และมีส่วนสำคัญต่อภาวะการตอบสนองต่อ อินซูลินอีกด้วย (Insulin Sensitivity)


6. การได้รับฮอร์โมน
ระบบที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็ก ๆ นั่นก็คือ การได้รับฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ที่ร่างกายของเราในวัยเด็ก ต้องการอย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็น Growth Hormone ฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกกล้ามเนื้อและการเจริญเติบโต รวมไปถึง Leptin “ฮอร์โมนอิ่ม” ที่ต่างฝ่ายต่างช่วยกันทำหน้าที่ของตนจนทำให้เด็ก ๆ มีลักษณะรูปร่างที่สมส่วนอีกทั้งไม่มี อาการอ้วนลงพุงเพราะมีการกระจายของไขมันในร่างกายอย่างเหมาะสมแล้วนั่นเอง

1. เกิดภาวะโรคอ้วนลงพุง
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าว่าแม้เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นมาด้วยสภาพทางร่างกายที่มีอาการครบ 32 รวมทั้งการทำงานของระบบใน ร่างกายอย่างสมบูรณ์ หากแต่ก็ยังคงมีเด็ก ๆ อีกหลายรายที่พบว่าได้รับสืบทอดเชื้อสายจากพันธุกรรมอันเกี่ยวกับระบบ การทำงานของร่างกายที่ไม่เหมาะสมมาจากบรรพบุรุษของตน ส่งผลให้ไม่สามารถย่อยสลายอาหารและเผาผลาญพลังงาน ได้เหมาะสมต่อร่างกายในแต่ละช่วงวัยได้อันเป็นเหตุให้ไขมันส่วนเกินกระจายไปทั่วร่างกายและทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนลงพุงใน เด็ก เช่น ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

2. กระทบการเจริญเติบโตให้สมวัย
เมื่อร่างกายของคนเราในวัยเด็กต้องประสบกับปัญหาระบบทาง เดินอาหารทำงานอย่างผิดพลาด ย่อมส่งผลกระทบด้านร่างกาย ของเด็กเป็นอันมากโดยเฉพาะการเจริญเติบโตให้สมวัยอันเนื่อง มาจากการย่อยและการดูดซึมสารอาหารรวมไปถึงความรู้สึกอิ่มทำงานอย่างผิดปกติ อาทิ หากกระเพาะและลำไส้เกิดการบีบตัว เร็วกว่าปกติที่ควร ก็จะเป็นเหตุให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าตนหิวได้ง่ายอยู่ ตลอดเวลา และอาจมีอาการอักเสบเรื้อรังในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมันก็ส่งผลต่อการสะสมไขมันในเซลล์ไขมันที่อยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะในส่วนที่คนเรามักมองเห็นได้ง่ายอย่าง บริเวณหน้าท้องและภายในช่องท้อง เป็นต้น

3. เซลล์ไขมันมีขนาดใหญ่
พฤติกรรมของลูกบ้านในลำไส้ของเราอย่างแบคทีเรียเองก็สำคัญ เมื่อใดก็ตามที่ไปที่แบคทีเรียทั้งดีและร้ายไม่สามารถ สมานฉันท์หรือรักษาการทำหน้าที่ของตนในระบบทางเดินอาหารได้อย่างปกติก็อาจจะทำให้เกิดการอักเสบภายในระบบ GALT ซึ่งเป็นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติโดยเฉพาะการทำหน้าที่ไปกระตุ้นเซลล์ไขมัน ทั่วร่างกายในบริเวณหน้าท้องและภายในช่องท้องทำให้เมื่อไม่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายคอยกำกับดูแลจึงมีการเก็บไขมัน เข้าไปภายในเซลล์มากยิ่งขึ้นทำให้เซลล์ไขมันก็มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย (Hypertrophy) ซึ่งการควบคุมอาหารและการ ออกกำลังกายนั้น ส่งผลไม่มากต่อการกำจัดไขมันในจุดที่ลดได้ยากเหล่านี้

5. กระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน
กระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน (Adipogenesis) มีการศึกษาพบว่า สาเหตุของอาการอ้วนในเด็ก ๆ เกิดมาจากมีการสร้างเซลล์ไขมัน (Adipogenesis) มากเกินความเหมาะสมตามปกติของร่างกาย นอกจากจะเกิดความอ้วนได้ง่ายอันเนื่องมาจากเซลล์ไขมันทำหน้าที่ของตนเองในฐานะแบตเตอรี่ของร่างกายทำการกักเก็บพลังงาน ที่เรียกว่าไขมันมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็นแล้ว เมื่อมีการเก็บ พลังงานเป็นไขมันในจำนวนที่มากเกินไปก็ย่อมมีอาการคล้ายคลึงกับการชาร์ทแบตเตอรี่ ในโทรศัพท์มือถือมากเกินความต้องการ แบตเตอรี่โทรศัพท์ก็อาจเสียหายและเสื่อมสภาพไปหรือถึงขั้น ระเบิดขึ้นได้ตามข่าวที่เคยมีมา อาการของเซลล์ไขมันก็ไม่ได้มีข้อ แตกต่างมากนักเพราะเมื่อมีการเก็บกักพลังงานในรูปแบบไขมัน เกินกว่า limit ก็จะทำให้สารที่ให้ความชุ่มชื้นโดยรอบเซลล์ไขมันที่เรา รู้จักกันดีในชื่อสารคอลลาเจน ชนิด Extracellular Matrix (ECM) ที่ทำหน้าที่กระชับและรักษาผิวหนังให้เต่งตึงเรียบเนียนสวยงามมี ปริมาณลดลง



6. มีรูปร่างผิดปกติ
ในร่างกายของมนุษย์นั้นต่างก็อาศัยฮอร์โมนหลากหลายชนิดที่ใช้ในการทำงาน เช่น Growth Hormone ไทรอยด์ ฮอร์โมนเป็นต้น ซึ่งการมีอยู่และทำหน้าที่ต่าง ๆ ของ ฮอร์โมนนั้นเปรียบได้กับระบบเชื่อมต่อการทำงานส่วน ต่าง ๆ ใน ร่างกาย แล้วเมื่อฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ กระตุ้น การทำงานในส่วนใดขึ้น ก็ย่อมจะมีผลต่อเนื่องให้ร่างกาย มีการสะสมไขมันไว้เป็นพลังงานอีกครั้งโดยการกระจาย ตัวของไขมัน รวมถึงการสร้างมวลกล้ามเนื้อซึ่งเป็นแหล่ง ที่ใช้ในการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินที่ดีเยี่ยมส่วนหนึ่ง ของร่างกายคนเรา เมื่อไหร่ก็ตามที่ฮอร์โมนต่างๆ ทำงาน อย่างผิดปกติ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่ออัตราการสะสมของ พลังงานอย่างไขมัน อันจะส่งผลต่อไปให้รูปร่างของคุณ นั้นผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วนลงพุง หรืออาการผอม แคระแก่นมากเกินควร

1. ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
ในปัจจุบัน ได้มีความพยายามค้นคว้าและศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขข้อ บกพร่องอันเกิดมาจากลักษณะความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อความอยากอาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตและ ไฟเบอร์ต่าง ๆ รวมไปถึงอาการน้ำหนักตัวมากเกินความเหมาะสม ด้วยการให้ร่างกายได้รับสารอาหารและยาบางชนิด รวมไปถึงการ แก้ไขด้วยการผ่าตัด (Bariatic Surgery) นั้น หากแต่ด้วยความที่ บุคคลแต่ละคนนั้นต่างมีเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และลักษณะทางพันธุ กรรมที่แตกต่างกันออกไปทำให้หากต้องมีการรักษาจะต้องเลือกใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไปให้ถูกต้องตามลักษณะพันธุกรรมของ เด็กๆ แต่ละคน

2. ทำให้ร่างกายลดการดูดซึมไขมันจากระบบทางเดินอาหาร
อันเนื่องมาจากโรคอ้วนและความผิดปกติต่าง ๆ ทางร่างกายที่เกิดมาจากเซลล์ไขมันสะสมไขมันเป็นพลังงานให้กับ ร่างกายเป็นจำนวนมากเกินควร จึงได้มีการศึกษาอีกวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้นั้นก็คือการทำให้ ร่างกายของเราลดการดูดซึมไขมันจากระบบทางเดินอาหารเพื่อไม่ให้ร่างกายของเราได้รับไขมันส่วนเกินมากเกินไปนั้นเอง โดยวิธีการใช้สารชนิดต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและให้ผลเป็นการยับยั้งการดูดซึมไขมันของระบบทางเดินอาหารอันได้แก่ ใยอาหารที่พบมากจากธัญพืชต่าง ๆ Chitosan Saponins ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้วมันจะเข้าไปจับกับไขมันโดย ตรงแล้วทำให้ไขมันมีขนาดใหญ่ ทำให้ไม่อาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้และถูกขับออกไปทางระบบทางเดินอาหารในที่สุด

3. ให้สารกลุ่ม Prebiotics และ Probiotics
การทำให้ลูกบ้านอย่างแบคทีเรียในลำไส้สามารถปรองดองกันได้ อย่างสงบสุขหรือที่เรียกว่าอยู่ในสภาวะสมดุลนั้น เราสามารถทำ ได้โดยการให้สารกลุ่ม Prebiotics และ Probiotics โดย Prebiotics คือสารกลุ่มโพลีแซคคาไรดที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร (Non- digestible polysaccharides) เมื่อเรานำสารดังกล่าวเข้า สู่ร่างกายแล้วสารประเภทนี้จะเข้าไปปรับสภาพแวดล้อมของระบบ ลำไส้ และทางเดินอาหารของเราให้สวยงามและเป็นมิตรต่อเหล่าลูก บ้านอย่างแบคทีเรียให้เกิดความสงบสุขและสมานฉันท์กันได้ โดยจะส่งผลต่อไปยังกระบวนการเมตาบอลิซึมย่อยสลายสาร อาหาร และนำไปซ่อมแซมเสริมสร้างร่างกายให้กลับมาแข็งแรงทั้ง
Prebiotics และ Probiotics จะเข้าไปปรับสมดุลของแบคทีเรีย ภายในลำไส้ และส่งผลให้มี การทำงานของ Glucose- Insulin
Homeostasis ที่ดีขึ้นได้



4.2 ออกกำลังด้วยวิธี High- Intensity Interval Training (HIIT)
เมื่อมีการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่าง เหมาะสมแล้ว การช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานที่ดีให้กับ ร่างกายย่อมหนีไม่พ้นการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีช่วงที่ต้องออกแรงอย่างหนักหรือใช้ความเร็ว เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งที่เรียกกันว่า High- Intensity Interval Training (HIIT) เพราะเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่จะ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานได้มากยิ่งขึ้นกว่าการออกกำลังกายแบบปกติ ข่าวดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนอย่าง เห็นผลนั่นก็คือ การ HIIT ต่อเนื่องกันอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลานานประมาณ 12 สัปดาห์ สามารถที่จะช่วยในการลด น้ำหนักได้อีกเพิ่มมากขึ้นอีกประมาณ 2 กิโล ลดไขมันที่หน้าท้องได้อีกกว่า 17% เมื่อเทียบกับการออกกำลังกายแบบปกติ จึงเหมาะ สมที่จะนำมาใช้ในการลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร

4.3 เวทเทรนนิ่ง
การออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มอันเนื่องมา จากเซลล์กล้ามเนื้อนั้นเป็นจุดที่สำคัญในการเผาผลาญ พลังงานที่ร่างกายของเราสะสมไว้ เพราะฉะนั้นใครที่ต้อง การลดน้ำหนักอย่างถาวรหรือรักษารูปร่างที่ดีสมส่วนให้นานที่สุด โดยไม่มีอาการไขมันกลับมาสะสมใหม่หรือ อาการที่เรียกกันว่าโยโย่ นอกจากการควบคุมอาหารการ กินและการออกกำลังกายตามปกติธรรมดาเป็นประจำ สม่ำเสมอแล้ว ก็ยังควรต้องเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อ เสริมสร้างกล้ามเนื้อที่เรียกกันว่าเวทเทรนนิ่ง (Weight Training) อีกด้วยถึงจะดี
4.4 นอนดึกทำให้อ้วน
การพักผ่อนให้เพียงพอ ใคร ๆ หลายคนโดยเฉพาะกลุ่ม เด็ก ๆ วัยรุ่นหนุ่มสาวหรือคนทำงานทั้งหลายมักจะไม่ค่อย เห็นความสำคัญกับการพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ ทำงานหามรุ่งหามค่ำอดหลับอดนอนกันอยู่เสมอ โดยไม่รู้ เลยว่าการอดนอนหรือพักผ่อนที่ไม่เพียงพอนั้นส่งผลทำ ให้ร่างกายอ่อนล้าระบบเผาผลาญพลังงานได้ลดน้อยลง แถมเป็นการเพิ่มฮอร์โมนความรู้สึกหิว Ghrelin แล้วลด ฮอร์โมนความรู้สึกอิ่ม Leptin เรียกแปลว่ายิ่งนอนดึกก็ยิ่ง หิว ยิ่งหิวก็ยิ่งกิน ยิ่งกินก็ยิ่งอ้วนนั่นเอง

4.5 เลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันชนิด
สายป่านยาวปานกลาง
การเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันชนิดสายป่านยาวปาน กลาง (Medium Chain Triglycerides – MCT) แทนไขมันชนิดสายยาว (Long Chain Triglycerides) เช่น น้ำมันมะพร้าวนั่นเอง เพราะจัดการศึกษาทางการแพทย์พบว่าหากเราเลือกบริโภคไขมันชนิดสายยาวปานกลาง MCT นี้ เข้ามาทดแทนการบริโภคอาหารประเภทไขมันชนิดสายยาวจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ถึง 12 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ในขณะที่ไขมันแบบปกตินั้น ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานได้เพียง 3 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ช่วยเพิ่มเลยในบางกรณี อย่างไรก็ตามไขมันก็ยังคงเป็นไขมัน หากเราบริโภคไขมันมากเกินไปจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปจนเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ในที่สุด

6. ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบ
การเผาผลาญและการสะสมไขมันในร่างกาย
ภาวะสมดุลของฮอร์โมน นอกจากฮอร์โมนตามปกติที่รู้จักกันแล้ว ยังมีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบการเผาผลาญและการ สะสมไขมันในร่างกาย เช่น
6.1 ฮอร์โมนอิ่ม Leptin
Leptin ที่มีชื่อเล่นว่า ฮอร์โมนอิ่ม เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ ไขมันแล้วถูกส่งผ่านตามกระแสโลหิต ไปยังตัวรับที่สมองเพื่อ ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่ม แต่ถ้าเมื่อไรที่เราได้รับน้ำตาลฟรุกโตส ที่พบในผักและผลไม้ซึ่งมันก็คือน้ำตาลที่เราใส่ปรุงอาหารและชง กาแฟนั้นเอง เมื่อได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ตับจะไม่สามารถ กักเก็บฟรุกโตสได้พอ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นไขมันในเซลล์ไขมันและ กระตุ้นการหลั่ง Leptin เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ทำให้สมองไม่ ตอบสนองต่อ Leptin อีกต่อไป ทำให้ความรู้สึกอิ่มลดลงในที่สุด
6.2 ฮอร์โมนแห่งความเครียด Cortisol
Cortisol หรือ ฮอร์โมนแห่งความเครียด เมื่อมีความเครียดจะทำ ให้เกิดการหลั่ง Cortisol เพิ่มขึ้น และ Cortisol จะทำให้มีการ เปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นไขมันได้ในที่สุด