-
A.
-
องค์ประกอบสำคัญ
ต่อสภาพผิวหนัง
เพราะอะไรถึงมีผลอย่างนั้นเกิดขึ้น
(Why What)

1. เม็ดสีเมลานิน (Melanin)
เม็ดสีเมลานิน (Melanin) ถูกสร้างโดยโรงงาน
ผลิตเม็ดสีที่เรียกว่าเซลล์ Melanocyte ซึ่งใช้กระบวนการผลิตที่เรียกว่า Melanogenesis ทำการผลิตเม็ดสีแล้วบรรจุในแคปซูลที่เรียกว่า Melanosome จนเต็ม แล้วทำการขนส่งผ่านรยางค์ แขนงท่อหรือถนนขนส่งขึ้นไปยังเซลล์ผิวหนังชั้นบนที่มีชื่อเรียกว่า Keratinocyte
โดยความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ที่เรียกกันว่าพันธุกรรมจะส่งผลถึงลักษณะการผลิตเม็ดสีเมลานิน ทั้งนี้อยู่ในการกำกับดูแลของผู้จัดการโรงงานที่ชื่อว่าเอนไซม์ Tyrosinase เป็นหลัก โดยเมลานินแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ ชนิดสีน้ำตาลดำ เรียกว่า Eumelanin และชนิดสีแดงเรียกว่า Pheomelanin



2. แบคทีเรียที่ส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพผิวหนัง
ในระบบทางเดินอาหารของเรานอกจากอาหารต่าง ๆ ที่เราทานลงท้องไปแล้ว ยังมีลูกบ้านที่สำคัญอย่างแบคทีเรียหลายล้านล้านตัว มากกว่า 1,000 สายพันธุ์ โดยลูกบ้านเผ่าพันธุ์หลัก ๆ นั้นก็คือแบคทีเรียที่ชื่อว่า Firmicutes และ Bacteroidetes โดยสิ่งที่จะกำหนดตัวแบคทีเรียลูกบ้านของเราได้แก่ อาหาร การเจ็บป่วย ยากลุ่มปฏิชีวนะ รวมไปถึงอายุที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลต่อสมดุลของแบคทีเรียนี้เช่นกัน

3. Hyaluronic Acid
และ Collagen ช่วยเสริมสร้าง ECM ให้ผิวพรรณสวยงาม
การได้รับสารอาหารที่ดีอย่างเหมาะสม เพื่อการสร้างสารเคลือบผิวเซลล์ (Extracellular Matrix – ECM) ที่เป็นกำแพงชั้นนอกป้องกันผิวหนังอันยอดเยี่ยม ส่วนประกอบที่สำคัญของรั้วกำแพงผิวนี้ ก็ได้แก่ สารสำคัญที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง โปรตีน Hyaluronic Acid และคอลลาเจน (Collagen) ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่มีสัดส่วนสำคัญค่อนข้างมากของรั้วกำแพงผิว (ECM) สำหรับในวัยเด็กของคนเราที่ได้รับอาหารที่ดี อาทิ วิตามินซี ที่ช่วยให้โรงงานสร้างเส้นใยอย่างเซลล์สร้างเส้นใย (fibroblasts) ของผิวหนังทำการสร้างคอลลาเจนที่เป็นสารจำเป็นในการสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและเซลล์ผิวหนังขึ้นใหม่ได้ดีกว่าในร่างกายของผู้ใหญ่ วัยสูงอายุมากขึ้น ทำให้ในช่วงวัยเด็กเราจะมีผิวหนังที่เรียบเนียนไร้รอยเหี่ยวย่น ในขณะที่ในวัยผู้ใหญ่กลับมีการฟื้นฟูสภาพเซลล์ผิวหนังได้ช้าและลดประสิทธิภาพลง อันเนื่องมาจากเซลล์ต่าง ๆ ทำงานโดยมีประสิทธิภาพที่ลดลงนั้นเอง



3. สารเคลือบผิวเซลล์
(Extracellular Matrix – ECM) ที่ไม่แข็งแรง
การที่สารเคลือบผิวเซลล์ (Extracellular Matrix – ECM) อันเป็นรั้วกำแพงของผิวหนังขาดวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นอันได้แก่ คอลลาเจน หรือ Hyaluronic Acid อีกทั้งภาวะพร่องแมกนีเซียม (Magnesium) โปรตีน และพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อสภาพร่างกายอย่างการสูบบุหรี่ จะทำให้การผลิตวัสดุประกอบ ECM อย่าง Hyaluronic Acid ลดน้อยและสลายตัวอย่างรวดเร็ว ความแข็งแรงของโครงสร้างของ ECM อ่อนแอลงประหนึ่งรั้วกำแพงของผิวทรุดโทรมและพังลงได้ทุกเมื่อ


4. เซลล์ผิวเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร
ในผู้ใหญ่ที่มีระบบการต่อต้านอนุมูลอิสระไม่ดีเพียงพอ ขาดสารต้านอนุมูลอิสระ (Free Radicals) นั้น ย่อมเปรียบดังบ้านเมืองที่ไร้ซึ่งทหารลาดตระเวนคอยระวังภัยและต่อสู้กับสารอันตรายภายนอกผิว ย่อมทำให้ผิวถูกโจมตีจากโจรร้ายอย่างสารอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้โดยง่าย ส่งผลให้เซลล์ผิวเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร มีอาการแก่ก่อนวัย (Premature aging) สารเคลือบเซลล์ (ECM) ซึ่งเป็นรั้วกำแพงผิวล่มสลายได้โดยง่ายนั้นเอง

1. ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
การแก้ไขปัญหาผิวที่เกิดจากการสืบทอดทางเชื้อสายและกรรมพันธุ์ ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยเพื่อหาทางรักษาและแก้ไข
2. ให้สาร Prebiotics
การปรองดองและอยู่ด้วยกันได้อย่างสงบระหว่างลูกบ้านอย่างแบคทีเรียแต่ละชนิดในลำไส้ สามารถสนับสนุนให้เกิดการสามัคคีขึ้นได้ด้วยการให้สาร Prebiotics สารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ซึ่งถือเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่มีโครงสร้างอันสลับซับซ้อนจนทำให้เอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องบดอาหารในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กไม่สามารถย่อยสลายน้ำตาลชนิดนี้ได้หรือที่เรียกกันว่า (Non-Digestible Polysaccharides) โดยสาร Probiotics จะทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่จัดทำผังเมืองในการอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับแบคทีเรีย ทั้งนี้ Probiotics จะเป็นกลุ่มของแบคทีเรียดีที่เราใส่เข้าไปในระบบทางเดินอาหารของเราโดยตรงเลย


3. ได้รับอาหารบำรุงร่างกายที่ดี
บ้านที่แข็งแรงทนทานย่อมต้องเกิดจากวัสดุอุปกรณ์ที่ดีได้มาตรฐาน ร่างกายก็เช่นเดียวกัน จะแข็งแรงได้ก็ต้องได้รับอาหารบำรุงร่างกายที่ดี ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพจากถั่วเหลือง วิตามินที่สำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและฟื้นฟูสภาพผิวที่ดี รวมทั้ง Hyaluronic Acid กรดซึ่งเป็นส่วนผสมหลัก ๆ ในการซ่อมแซมสภาพร่างกายและริ้วร้อยแห่งวัย เช่น สังกะสี (Zinc) และแมกนีเซียม (Magnesium) ย่อมส่งผลดีต่อคุณภาพของผิวหนังในที่สุด


4. เพิ่มสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
(Free Radicals)
การเพิ่มสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free Radicals) เป็นการ “กันไว้ดีกว่าแก้” โดยการเพิ่มสารป้องกันอนุมูลอิสระไม่ให้มาโจมตีผิวหนัง การอักเสบเรื้อรัง ปกป้องเซลล์ต่างๆ ของผิวหนังไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งในระดับเซลล์และโครโมโซม ทำให้ไม่เกิดภาวะเซลล์ผิวเสื่อม



ซึ่งเมื่อเราได้รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นประจำ ก็จะมีส่วนในการช่วยลดปริมาณอนุมูลอิสระส่วนเกินที่จะไปส่งผลเสียในการทำงานโครงสร้างต่างๆรวมถึง DNA ของเซลล์ผิวหนังของเราด้วยนั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบว่ามีสารสกัดตามธรรมชาติอีกหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เช่น ชาเขียว (Green tea), Resveratrol, Grape Seed, Niacinamide (Vitamin B3) เป็นต้น
