สถาบันวิจัย Durascience แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific Principle ) ที่จะนำไปสู่การคืนกลับมาของวัยสาวแรกรุ่น ( Bring Your Debutant Back ) ซึ่งหลักการนั้นมีชื่อเรียกว่า Women Balance Matrixes (W.B.M™ ) หรือ องค์ประกอบแห่งการคืนกลับมาของวัยสาวแรกรุ่น
Women Balance Matrixes (W.B.M™ ) หรือ องค์ประกอบแห่งการคืนกลับมาของวัยสาวแรกรุ่น องค์ประกอบที่ จะนำไปสู่การย้อนคืนเป็นหญิงสาวเริ่มจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งผลจากการฟื้นบำรุงอย่างถูกต้อง แสดงออกมา ให้เห็นทั้งร่างกายและอารมณ์และคงอยู่ได้อย่างยาวนาน โดยต้องอาศัยองค์ประกอบผสมผสาน

4 ปัจจัย
ที่เป็นองค์ประกอบแห่ง W.B.M TM

1.
GENATIC
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ส่งผลต่อการสร้างสมดุลของระดับเอสโตรเจนภายในร่างกาย ถ้ากระบวนการนี้ผิดปกติ ก็จะทำให้มีระดับเอสโตรเจนที่สูงหรือต่ำกว่าที่ควร มีผลโดยตรงต่อการทำงานในแทบจะทุกระบบภายในร่างกายผู้หญิง
ตับเป็นแหล่งสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของเอสโตรเจน โดยเอสโตรเจนที่ถูกสร้างจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะจากรังไข่ เมื่ออยู่ในกระแสเลือดก็จะถูกกรองเข้ามาในตับ ภายในตับจะมีเอนไซม์หลายชนิดที่มีหน้าที่ ในการกำจัดเอสโตรเจน เพื่อควบคุมสมดุลระดับเอสโตรเจน ภายในกระแสเลือดไม่ให้มาก หรือ น้อยจนเกินไป


2.
สมดุลของแบคทีเรีย
ในระบบทางเดินอาหารที่ดี
การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมาย ค้นพบว่า แบคทีเรียที่อยู่ภายในระบบทางเดินอาหารของเรา ( Gut Microbiome) มีผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันผ่านทาง GALT ( Gut-Associated Lymphatic Tissue ) รวมไปถึงความสามารถ ในการดูดซึมสารอาหารหลากหลายชนิดผ่านระบบทางเดินอาหารของเรา
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงให้เห็นว่า แบคทีเรียภายในระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยมีแบคทีเรียหลายชนิดภายในระบบทางเดินอาหารที่มีความสามารถในการนำเอสโตรเจนที่ถูก Conjugated ที่ตับ
( Conjugated Estrogen ) เพื่อที่จะส่งต่อไปทางลำไส้และไตเพื่อกำจัดทิ้ง แบคทีเรียเหล่านี้มีเอนไซม์ ß-Glucuronidase ที่จะ Deconjugate เอสโตรเจนให้กลับมาทำงาน ( Active ) อีกครั้ง ก่อนที่จะถูกดูดซึม กลับมาทางระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อไปทำงานต่ออีกครั้ง เราเรียกแบคทีเรียที่มีความสามารถ ในการนำเอสโตรเจนกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งนี้ว่า Estrobolome
3.
การได้รับสารอาหาร
ที่ดีอย่างเหมาะสม
สารอาหารที่ดีส่งผลโดยตรงต่อสมดุลของเอสโตรเจน ไม่ทำให้เกิดภาวะเอสโตรเจนเกิน ( Estrogen Dominance ) หรือ ภาวะขาดเอสโตรเจน ( Estrogen Deficit ) ซึ่งทั้งสองภาวะล้วนส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาวเป็นอย่างมาก

DIM ( Diindolylmethane )
เป็นสารที่พบในพืชตระกูลบรอคโคลี่และกะหล่ำ มีส่วนสำคัญในการปรับสมดุลของเอสโตรเจน ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวที่มีฤทธิ์เป็นเอสโตรเจนอ่อนๆ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความสามารถในการยับยั้งเอสโตรเจนในสภาวะที่มีเอสโตรเจนเกินรวมไปถึงความสามารถในการกำจัดเอสโตรเจนส่วนเกิน ( Excess Estrogen ) ที่เป็นเอสโตรเจนไม่ดีให้ออกไปจากร่างกายได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยมากมายที่พบว่า DIM ช่วยลดการอักเสบ ( Antiinflammation ) และ DIM ในปริมาณที่เหมาะสมยังมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยง การเป็นมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายอีกด้วย
Calcium D-Glucarate
ช่วยในการกำจัดเอสโตรเจนส่วนเกินออกไปจากร่างกาย ด้วยการลดการทำงานของเอนไซม์ ß-Glucuronidase ที่ทำหน้าที่ดึงเอสโตรเจนกลับเข้ามาจากลำไส้ของเรา โดยปกติภายในระบบทางเดินอาหารของเรา จะมีสมดุลที่ดี ระหว่างการทำงานของ Calcium D-Glucarate และ ß-Glucuronidase โดย Calcium D-Glucarate พบได้ในพืชผักหลายชนิด เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี เป็นต้น
Phytoestrogens
เป็นสารประเภท Polyphenolic Compounds สามารถพบได้ตามธรรมชาติในพืชหลายชนิด เช่น ถั่วฝัก ถั่วเหลือง ธัญพืช และพืชอื่นๆ อีกมากมาย Phytoestrogens มีโครงสร้างที่คล้ายกับเอสโตรเจน ดังนั้น Phytoestrogens เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะเข้าไปจับกับตัวรับ เอสโตรเจน Estrogen Receptors ( ER ) และทำให้กระบวนการต่างๆในร่างกาย ทำงานได้คล้ายกับการได้รับการจับโดยเอสโตรเจนที่สร้างขึ้นจากภายในร่างกายเอง
4.
การมีระบบต่อต้าน
ภาวะการอักเสบเรื้อรังที่ดี
เซลล์ในร่างกายของมนุษย์ต้องเผชิญกับอนุมูลอิสระ ( Free Radicals ) ไม่ว่าจะเป็น ROS ( Reactive Oxygen Species ) หรือ RNS ( Reactive Nitrogen Species ) ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาผลาญของเซลล์ภายในร่างกายตามปกติ และจากภายนอกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากสารเคมี อาหาร มลภาวะ เมื่อมีการสะสมของอนุมูลอิสระมากถึงจุดหนึ่ง ก็จะเกิดภาวะ Oxidative Stress ที่อนุมูลอิสระที่สะสมมาตลอดจะก่อให้เกิดการทำลายโปรตีน ไขมันและดีเอ็นเอ ภายในเซลล์ในทุกส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดการเสื่อมลงของเซลล์ เซลล์ทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดโรคที่สำคัญต่างๆมากมาย เช่น ภาวะการไม่สมดุลของการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน รวมไปถึงการถดถอยในประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงอีกด้วย
ดังนั้น ถ้าร่างกายของเรามีระบบการต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidants ) ที่ดี ก็จะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของเซลล์ในส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างฮอร์โมนให้สามารถสร้างสมดุลที่ดีของฮอร์โมนได้

เติมเต็มความสมดุล เติมเต็มชีวิต
เอสโตรเจนไม่ใช่แค่สิ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีรูปร่าง ผิวพรรณที่สวยงาม แต่ยังส่งผลไปถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
เมื่อระดับเอสโตรเจนในร่างกายผู้หญิงเกิดภาวะแปรปรวน เสียสมดุล ก็จะส่งผลเสียต่อผู้หญิง
ต้นเหตุของภาวะไม่สมดุลของเอสโตรเจนนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย